การงานอาชีพ

การเชื่อมโลหะ (Welding)


     คือ การต่อโลหะ 2 ชิ้นให้ติดกันโดยการให้ความร้อนแก่โลหะจนหลอมละลาย ติดเป็นเนื้อเดียวหัน หรือโดยการเติมลวดเชื่อมเป็นตัวให้ประสาน
วิธีการเชื่อมโลหะแบ่งออกได้ดังนี้

1. การเชื่อมแก๊ส (Gas Welding)
คือการหลอมเหลวโลหะ แหล่งความร้อนที่ใช้เกิดมาจากการเผาไหม้ระหว่าง แก๊ส อะเซทีลีน ซึ่งเป็นแก๊สเชื้อเพลิง และแก๊สออกซิเจน อุณหภูมิของการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ให้ความร้อนสูง 3200°C และจะไม่มีเขม่าหรือควัน

2. การเชื่อมไฟฟ้า (Arc Welding)
การเชื่อมไฟฟ้า หรือ "อาร์ค" ความร้อนที่ใช้ในการเชื่อมเกิดจากประกายอาร์ค ระหว่างชิ้นงาน และลวดเชื่อมซึ่งหลอมละลายลวดเชื่อม เพื่อทำหน้าที่ประสานเนื้อโลหะเข้าด้วยกัน

3. การเชื่อมอัด (Press Welding)
คือ การประสานโลหะ 2 ชิ้น โดยใช้ความร้อน กับชิ้นงานในบริเวณที่จะทำการเชื่อม จากนั้นใช้แรงอัดส่วนที่หลอมละลายจนกระทั่งชิ้นงานติดกันเป็นจุด หรือเกิดแนวความร้อนที่ใช้ได้จากความต้านทานไฟฟ้า เช่น การเชื่อมจุด (Spot Welding)

4. การเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding)
เป็นวิธีเชื่อมโลหะด้วยความร้อน ที่เกิดจากการอาร์คระหว่างลวดทังสเตน กับชิ้นงาน โดยมีแก๊สเฉื่อยปกคลุมบริเวณเชื่อม และบ่อหลอมละลายเพื่อไม่ไห้บรรยากาศภายนอกเข้ามาทำปฏิกิริยา

5. การเชื่อม MIG (Metal Inert Gas Welding)
เป็นกระบวนการเชื่อมที่สร้างความร้อน ระหว่างลวดเชื่อมกับชิ้นงาน ลวดเชื่อมที่ใช้จะเป็นลวดเชื่อมเปลือยที่ส่งป้อนอย่างต่อเนื่อง ไปยังบริเวณอาร์ค และทำหน้าที่เป็นโลหะเติมลงยังบ่อหลอมละลาย บริเวณบ่อหลอมละลายจะถูกปกคลุมไปด้วยแก๊สเฉื่อย เพื่อไม่ให้เกิดการรวมตัวกับอากาศ

6. การเชื่อมใต้ฟลักซ์ (Submerged Arc Welding)

การเชื่อมใต้ฟลักซ์เป็นกระบวนการเชื่อมไฟฟ้าที่ได้รับความร้อนจากการอาร์คระหว่างลวดเชื่อมเปลือยกับชิ้นงานเชื่อม โดยมีฟลักซ์ชนิดเม็ด (Granular Flux) ปกคลุมบริเวณอาร์ค และฟลักซ์ส่วนที่อยู่ใกล้ กับเนื้อเชื่อมจะหลอมละลายปกคลุมเนื้อเชื่อมเพื่อป้องกันอากาศภายนอกทำปฏิกริยากับแนวเชื่อม ส่วนฟลักซืที่อยู่ห่างจากเนื้อเชื่อมจะไม่หลอมละลาย และไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก

เทคนิคในการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ (SMAW)

ในการเชื่อมให้ได้งานออกมามีคุณภาพนั้นประกอบไปด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ ดังนี้

  • ช่างเชื่อม  60 %
  • เครื่องมือและอุปกรณ์ 20 %
  • การเตรียมชิ้นงาน  20 %
          จะเห็นได้ว่าช่างเชื่อมมีส่วนสำคัญที่ทำให้งานออกมามีคุณภาพ ดังนั้นช่างเชื่อมต้องทราบถึงเทคนิคพื้นฐานต่างๆที่จะทำให้งานเชื่อมออกมาดีที่สุด เช่น เทคนิคการส่ายลวดเชื่อม ท่าราบ, ท่าขนานนอน, ท่าตั้ง, ท่าเหนือศีรษะ ท่าราบ, ท่าขนานนอน, ท่าตั้ง, ท่าเหนือศีรษะ ท่าราบ, ท่าขนานนอน, ท่าตั้ง, ท่าเหนือศีรษะ ท่าตั้งขึ้นต่อเกย, ท่าตั้งขึ้นต่อฉาก

ใช้ชนิดของขั้วกระแสไฟฟ้าผิดจากผู้ผลิตลวดเชื่อมระบุ อาจส่งผลให้เกิด

  • สะเก็ดโลหะมาก
  • ซึมลึกไม่เพียงพอ
  • สแล็กฝังใน
  • การอาร์กไม่เสถียร

ระยะอาร์ก โดยปกติในการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ระยะอาร์กจะโดยประมาณ 0.5 - 1 ของความโตของลวดเชื่อม การอบลวดเชื่อมเพื่อให้ความชื้นออกจากลวดเชื่อม การต่อลวดเชื่อมและจุดหยุดลวดเชื่อมควรใช้วิธีแบบย้อนถอยหลัง(Back step technique)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น